“กลุ่มประกายไฟ” (Iskra Group)

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

The Gramscian Moment : Philosophy, Hegemony and Marxism กับ Comment โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล



The Gramscian Moment : Philosophy, Hegemony and Marxism
เขียนโดย Peter D Thomas ตีพิมพ์เมื่อปี 2009
(ดูข้อมูลหนังสือเพิ่มเติมได้ที่ Brill http://brill.nl/product_id29354 )
ขอยก Comment ของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล เกี่ยวกับหนัสือเล่มนี้มาแปะไว้เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจจะอ่านครับ ดังนี้

"ผมเพิ่งอ่าน Gramscian Moment จบไม่กี่สัปดาห์ก่อน ผมสั่งเข้ามาที่ห้องสมุดท่าพระจันทร์ ตอนนี้คืนไปแล้ว ใครสนใจไปยืมได้"

"บอกตรงๆว่า อ่านแล้วผิดหวัง ผมว่าจะหาเวลาเขียนเรื่องหนังสือนี้อยู่ อย่างสั้นๆคือ ผมว่า คนเขียน"พยายาม"มากเกินไป ที่จะบอกว่า กรัมชี่ ถูกทุกประเด็น และคำวิจารณ์ โดยเฉพาะของ Althusser และ Perry Anderson ไม่ถูก (หนังสือเล่มนี้ จริงๆเป็น extended polemic วิวาทะอย่างยาว) ต่องานของ Althusser กับ Anderson (อย่างละ ประมาณครึ่งเล่ม)" 

"ที่ผมไม่ชอบมากในหนังสือคือ จริงๆ แล้ว Thomas อ้างกรัมชี่เองน้อย (ทั้งๆที่อ่านมาเยอะจากต้นฉบับ และคุยว่าเป็นจุดแข็งของงานตัวเอง) คือ เขียนโดย"ผ่าน"งานของคนอื่นเยอะ หลายตอนบอกว่า กรัมชี่บอกว่า เป็นอย่างนั้นอยางนี้ แต่แทนที่จะยก กรัมชี่ มาให้ดู กลับอ้างงานการอ่านกรัมชี่ของคนอื่นแทน"

"ประเด็นหลัก ที่ Thomas โต้การตีความของ Anderson เรื่อง การแบ่งเป็น East/West, State/Civil Society, Hegemony/Coercion ผมว่า ยังไม่มีน้ำหนักมากพอ ด้านหนึ่ง Thomas ยอมรับว่า มีหลายตอนใน Prison Notebooks ที่ทำให้ตีความการแบ่งแบบนี้ได้ แต่เขาก็อ้างว่า จริงๆ ไมใช่ แล้วก็พยายามอภิปรายว่า ไมใช่อย่างไร แต่อย่างที่บอกว่า แทนที่จะยกมาให้ดูจริงๆว่า กรัมชี่เขียนอย่างไร เขากลับใช้วิธีอ้างคนอื่นที่ตีความกรัมชี่มาแทน เช่นประเด็นใหญ่มากๆ ที่วา กรัมชี่ หาได้แบ่งเป็น State/Civil Society และบางคร้ง ก็ สับสน การใช้คำว่า State อย่างที่ Anderson กับคนอื่นๆตีความ Thomas ก็ใช้วิธีอ้างงานของ Bucci-Gluckman (Gramsci and the State) แทน แทนที่จะยกที่กรัมชี่เขียน ที่เขาอ้างว่า ไม่สนับสนุนการตึความของ Anderson และคนอื่นๆ (หนังสือ Gramsci and the State มีอยู่ที่ห้องสมุดรัฐศาสตร์ ท่าพระจันทร์)"

"สำนวนการเขียนก็ออกจะน่ารำคาญ คือ เต็มไปด้วย cliche อย่างคำว่า overdetermined / overdetermination ใช้บ่อย และเฝือมากๆ (คำนี้ คือ concept สำคัญของ Althusser ที่ยืมมาจาก psychoanalysis)"

"ในคลิป(ดู http://www.youtube.com/watch?v=Exe5U3kFU5g ) จะมีการพูดประเด็นหนึ่งเรื่อง intergral State บอกว่า นี่คือ concept ของ กรัมชี่จริงๆ เกียวกับ State/Civil society โดย Thomas อ้าง Bucci-Gluckman อย่างที่บอกข้างบน นีเป็นประเด็นที่ผมว่า Thomas ไม่ชวนให้เชื่อนัก"

"โดยรวม ผมว่า ปัญหาของหนังสือนี้ มีลักษณะเดียวกับ ที่ผมวิจารณ์บรรดาคนที่คิดว่าตัวเองเป็นมาร์กซิสต์ ในไทย ที่เห็นๆกัน อยู่อย่างหนึี่งคือ "พยายาม" มากไปที่จะ defend คนที่ตัวเองกำลังพูดถึง (กรัมชี่ มาร์กซ) ราวกับว่า คนเหล่านี ถูกหมดในทุกเรื่อง กรณีกรัมชี่ มันมีปัญหาสำคัญมากคือ Prison Notesbooks เขียนในลักษณะไม่เป็นระบบมากๆ การพยายาม defend ของ Thomas ในลักษณะราวกับว่า กรัมชี่ เขี่ยนถูกต้อง ดีมากๆแล้ว เป็นอะไรที่ยิ่งเป็นจุดอ่อนใหญ่"

"ไม่ใช่ว่า หนังสือไม่มีประโยชน์เสียเลยนะ มีประโยชน์ในแง่ข้อมุลบางอย่างอยู่ แต่ผมว่า ในส่วนที่เป็นเนื้อหา ผมว่า มันอ่อน และน่าเสียดายที่ไม่ทำให้มองเห็นตัวกรัมชี่จริงๆชัดขึั้น อย่างที่บอกวา แทนที่ Thomas จะอ้างกรัมชี่มาให้เห็นกันเยอะๆชัดๆ กลับอ้างคนอื่นเต็มไปหมด มีบางตน อ่านแล้วเกือบ "ขำ" เลย คือหลังจากยืนยันหัวเด็ดตีนขาดว่า กรัมชี่ มีทัศนะอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ้่งไม่ตรงกับที่ Anderson หรือคนอื่นว่า แต่แทนที่จะยกกรัมชี่มาให้ดู กลับยก การตีความกรัมชี่ของคนอื่นมา !"

"วันก่อนผมคุยกับคุณ "จันทร์" (อ่าน / ฟ้าเดียวกัน) ผมยังยกตัวอย่างหนังสือเล่มนี้ ว่าเป็นตัวอย่างว่า ฝรั้่งเอง ไมใช่ว่า จะเขียนงานทฤษฎีได้ดีเสมอไป หนังสือมี "ร่องรอย" (ความจริง มากกว่า"ร่องรอย") ของการเป็น วพ. มากอ่น ประเภท เขียนยื่ดเยื้อ ซ้ำๆ พยายามพิสูจน์ยืนยัน ความถูกต้องของ subject ตัวเองมากไป ฯลฯ "

"(อ่านแล้วชวนให้นึกถึงหนังสือเกียวกับ Althusser เล่มหนึ่ง ที่ผมสั่งเข้ามาในห้องสมุด มธ. เร็วๆนี้ เหมือนกัน ของ Elliot น่ะ ดูเหมือนจะชื่อ Althusserian Moment มั้ง? หนังสือของ Thomas เขาจงใจตั้งชื่อเลียนแบบหนังสือเล่มนี้แหละ และอ่านแล้ว ผมรู้สึกผิดหวังพอๆกัน)"

"ในความรู้สึกผม ผมยังชอบ Antinomies of Antonio Gramsci ของ Anderson ใน NLR100 (1975) มากที่สุด ในบรรดางานที่วิจารณ์ตีความกรัมชี่"

ที่มาของ Comment ของ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ต่อหนังสือ The Gramscian Moment : Philosophy, Hegemony and Marxism มาจาก http://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=180280358652965&id=127877990577780 (24 พ.ย.53 22.00 น.)