Sat, 2009-09-05 11:19
(4 ก.ย.) เมื่อเวลา 16.00น. ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มีการแถลงข่าวประณามการออกหมายจับแกนนำสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ และการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เป็นผู้อ่านแถลงการณ์ซึ่งร่วมลงชื่อโดยองค์กร ประชาชน นักกิจกรรมทางสังคม นักวิชาการ กว่า 150 คน เรียกร้องให้ถอนการออกหมายจับที่ไม่เป็นธรรมกับผู้นำสหภาพแรงงาน โดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องไม่มีการจับกุมตามหมายจับ และดำเนินเพื่อร้องขอกับศาลให้มีการถอนหมายจับโดยทันที
นอกจากนี้ แถลงการณ์ยังเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้องของสหภาพ ที่ได้ยื่นให้รองเลขาธิการฝ่ายการเมืองโดยเร็วที่สุด และเรียกร้องให้รัฐบาล และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน นำโดย พล.ต.ต วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 โดยทางตำรวจได้เปิดเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดังมาก ได้รับผลกระทบต่อคนงานผู้หญิง คนงานพิการ และอายุมากที่ได้นั่งฟังปราศรัยหน้าทำเนียบรัฐบาล ขณะที่ตัวแทนของสหภาพกำลังเข้าไปยื่นหนังสือกับนายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ประจำรัฐสภา และการขอออกหมายจับผู้นำสหภาพ โดย พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ว่า เป็นการละเมิดสิทธิทางพลเมืองและทางการเมือง รวมถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
ธัญยธรณ์ คีรีถาวรพัฒน์ รองประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ กล่าวว่า หลังกลับจากการชุมนุมที่หน้ารัฐสภา คนงานหลายคนมีอาการปวดหู ปวดศีรษะ และคลื่นไส้ บางรายมีอาการปวดเบ้าตา โดยบางคน แพทย์วินิจฉัยว่า หูชั้นกลางอักเสบ หลายคนมีอาการข้างเคียงคือ พูดกันไม่ค่อยเข้าใจ เนื่องจากสมองเบลอ ซึ่งอาการเหล่านี้คือผลกระทบจากการที่ตำรวจใช้เครื่องขยายเสียง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการแถลงข่าวมีการนำใบรับรองแพทย์ของคนงานซึ่งได้รับผลกระทบจากการใช้เครื่องขยายเสียงระดับไกลหรือ LRAD มาแสดงด้วย
ด้าน พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 (ผบก.น.1) ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวไทยพีบีเอสว่า ตำรวจเพียงแต่เปิดลำโพงเพื่อประกาศเตือนการปิดถนนหน้ารัฐสภาที่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน ไม่ได้มีเจตนาจะสลายการชุมนุม พร้อมทั้งระบุด้วยว่าขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการออกหมายจับคนงานเพิ่ม
000000
ประณามการออกหมายจับแกนนำสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ และการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ
พวกเรา องค์กร และบุคคลข้างล่าง ขอประณามการออกหมายจับ นายสุนทร บุญยอด น.ส.บุญรอด สายวงศ์ (เลขาธิการสหภาพแรงงานไทรอัมพ์) และ น.ส.จิตรา คชเดช (ที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์) โดยสถานีตำรวจนครบาลเขตดุสิต ต่อการใช้สิทธิการชุมนุมอย่างสันติ ในวันพฤหัสที่ 27 สิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการชุมนุมอย่างสันติ โดยคนงานผู้หญิง ที่รวมถึงคนงานที่ท้อง และพิการ จำนวน 1,000 คน ที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้าง
โดยทาง พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ได้ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวไอเอ็นเอ็นว่า การชุมนุมอย่างสันตินี้ เข้าข่าย การมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไป กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดหนึ่งให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ตามมาตรา 215 และมาตรา 216 ที่มีโทษหนักถึงจำคุกเป็นระยะเวลา 3 ปี
ทางพวกเรามีความเห็น ดังนี้:
1. การออกหมายจับครั้งนี้ เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเป็นการใช้อำนาจเกินกว่าเหตุ (excessive uses of force) เนื่องจากสิทธิการชุมนุมอย่างสันติ ที่สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ กระทำเพื่อเรียกร้องให้มีการออกมารับหนังสือโดย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นสิทธิเสรีภาพที่ได้รับความคุ้มครอง ภายใต้รัฐธรรมนูญ และกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกภาคี
2. การชุมนุมที่เกิดขึ้น เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมที่มีความชอบธรรม เนื่องจากเป็นการชุมนุมของคนงานที่ได้รับผลกระทบจากการถูกเลิกจ้าง จำนวน 1,959 คน และเป็นการชุมนุมที่สืบเนื่องมาจาก การยื่นหนังสือต่อรองเลขาธิการฝ่ายการเมือง ประจำทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2552 เพื่อติดตามว่า รัฐบาลได้ดำเนินการอย่างไรไปแล้วบ้าง
3. การให้สัมภาษณ์ของ พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ในหนังสือพิมพ์ไอเอ็นเอ็น ไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงแต่อย่างใด เนื่องจากการชุมนุมของสหภาพแรงงานฯ ทั้งหน้าทำเนียบรัฐบาล และรัฐสภา นั้น ได้เป็นไปตามกรอบสิทธิเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสันติ ตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศได้รับรองไว้ และไม่ได้มีการปิดถนนหน้าทำเนียบรัฐบาล ตามที่พล.ต.ท.วรพงษ์ได้กล่าวอ้างแต่อย่างใด แต่การที่ถนนหน้ารัฐสภาปิดเกิดขึ้น เนื่องจากการไร้ความรับผิดชอบโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในการอำนวยความสะดวก ทำให้มีรถวิ่งสวนกับผู้ชุมนุมมากมาย และไม่ได้มีการปิดรัฐสภาแต่อย่างใด โดยรถยนต์และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็สามารถเข้าออกได้อย่างไม่มีปัญหา
4.การตอบโต้การชุมนุมครั้งนี้ โดย พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ในการนำเครื่องขยายเสียงระดับไกล (LRAD: Long Range Acoustic Device) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้โดยทหารสหรัฐในสงครามอิรัก มาเปิดช่วงที่คนงานหญิงได้ชุมนุมกันอย่างสันติ และในช่วงที่กำลังประสานงานกับ นายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน เข้ามารับหนังสือ ถือเป็นการกระทำที่ประสงค์จะให้มีการสลายการชุมนุม อันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยตรง เนื่องจากได้สร้างความเจ็บปวดในระบบหูให้กับคนงานจำนวนมาก โดยเฉพาะคนงานที่มีอายุมาก ซึ่งองค์กรสิทธิมนุษยชนในต่างประเทศได้ให้ความเห็นว่า เครื่องขยายเสียงนี้สามารถทำลายระบบหู จนทำให้ไม่ได้ยินไปตลอดชีวิตได้ หากมีการเปิดในระยะใกล้กับผู้ชุมนุม ซึ่งในกรณีนี้มีการเปิดใกล้กับผู้ชุมนุมมาก (ห่างจากผู้ชุมนุมในระยะ 1-2 เมตรเท่านั้น) อีกทั้ง การดำเนินการดังกล่าวไม่มีเหตุใดๆที่จะนำเครื่องขยายเสียงมาดำเนินการแต่อย่างใดมาใช้ เนื่องจากดังที่กล่าวแล้วข้างต้นว่า ผู้ชุมนุมได้ชุมนุมกันอย่างสันติโดยชอบด้วยกฎหมาย เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจใดๆดำเนินการเพื่อให้มีการสลายการชุมนุม
สืบเนื่องจากความเห็นของพวกเรา เราจึงมีข้อเรียกร้อง ดังนี้:
1.เราขอเรียกร้องให้ถอนการออกหมายจับที่ไม่เป็นธรรม กับผู้นำสหภาพแรงงาน โดยทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องไม่มีการจับกุมตามหมายจับ และดำเนินเพื่อร้องขอกับศาลให้มีการถอนหมายจับโดยทันที
2. เรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการตามข้อเรียกร้องของสหภาพ ที่ได้ยื่นให้รองเลขาธิการฝ่ายการเมืองโดยเร็วที่สุด
3. เราขอเรียกร้องให้รัฐบาล และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ดำเนินการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน นำโดย พล.ต.ต วิชัย สังข์ประไพ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 1 โดยทางตำรวจได้เปิดเครื่องขยายเสียงที่มีเสียงดังมาก ได้รับผลกระทบต่อคนงานผู้หญิง คนงานพิการ และอายุมากที่ได้นั่งฟังปราศรัยหน้าทำเนียบรัฐบาล ขณะที่ตัวแทนของสหภาพกำลังเข้าไปยื่นหนังสือกับนายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้าน ประจำรัฐสภา และการขอออกหมายจับผู้นำสหภาพ โดย พล.ต.ท.วรพงษ์ ชิวปรีชา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ว่า เป็นการละเมิดสิทธิทางพลเมืองและทางการเมือง รวมถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม
31 สิงหาคม 2552
สมัชชาคนจน
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน(ครส.)
มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)
มูลนิธิศักยภาพชุมชน
สหภาพแรงงานไทยอินดัสเตรียลแก๊ส
สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์ แห่งประเทศไทย
สหภาพแรงงานไทยอคริลิคไฟเบอร์
กลุ่มผู้ใช้แรงานสระบุรีและใกล้เคียง
สหภาพแรงงานสหกิจวิศาล
สหภาพแรงงานชินาโนเคนชิ ประเทศไทย
สหภาพแรงงานแฟชั่นเอ็กซ์เพรส
สหภาพแรงงานไทยเปอร์อ๊อกไซด์
สหภาพแรงงานอดิตยาเบอร์ล่าเคมีคัลส์ซัลไฟล์สดิวิชั่น ประเทศไทย
ศูนย์ประสานงานเยาวชนเพื่อประชาธิปไตย(YPD)
กลุ่มประกายไฟ
กลุ่มรองเท้าแตะ
กลุ่มประสานงานกรรมกร
กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ
เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
สุณัย ผาสุข นักสิทธิมนุษยชน
รศ.กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล
อังคณา นีละไพจิตร ผู้เขียนรายงานประเทศตามกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองฉบับที่สอง
พันโท แพทย์หญิง กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี นายกสมาคมเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ/ประธานเครือข่ายพ่อแม่เยาวชนเพื่อการปฏิรูปการศึกษา/สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง
นายชาตวิทย์ มงคลแสน นายกสมาคมพัฒนาผู้บริโภคไทย
นายบุญยืน สุขใหม่ ประธานสหภาพแรงงานผู้บังคับบัญชาไอทีเอฟ
พรมมา ภูมิพันธ์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ
นที สรวารี นายกสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน
พวงทอง ภวัครพันธุ์ รัฐศาสตร์ จุฬา
พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ประจำศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา ม.มหิดล
วัชรพล ศุภจักรวัฒนา อาจารย์ประจำสาขารัฐศาสตร์เเละรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ ม.นเรศวร
ปาณัสม์ชฎา ธนภาคิน อาจารย์ประจำคณะบริหารรัฐกิจ ม.ฟาร์อีสเทิร์น
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ บรรณาธิการนิตยสารวิภาษาและอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
Nivedita Menon School of International Studies Jawaharlal Nehru University
ภัควดี วีระภาสพงษ์ ประชาชน
ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความ
สมบัติ บุญงามอนงค์ มูลนิธิกระจกเงา
วิภา ดาวมณี กรรมการเครือข่ายเดือนตุลา
ศิโรตน์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการอิสระทางด้านรัฐศาสตร์
สุภิญญา กลางณรงค์ เครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network)
สุชาติ เศรษฐมาลินี สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์ ฝ่ายวิชาการ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
เจษฎา โชติกิจภิวาทย์ ผู้ประสานงานกลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ
สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ นักกิจกรรมทางสิทธิมนุษยชน
ชัยธวัช ตุลาฑล นักกิจกรรมทางสังคม
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ นักกิจกรรมทางสังคม
กานต์ ยืนยง นักกิจกรรมทางสังคม
พิภพ อุดมอิทธิพงศ์ นักแปลอิสระ
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ โครงการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมาย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
ประดิษฐา ปริยแก้วฟ้า เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย
พวงชมพู รามเมือง มูลนิธิกองทุนไทย
อับดุลเลาะห์ หะยีอาบู คณะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ สำนักงานกฎหมายสิทธิชน
พิชิต พิทักษ์ กลุ่มสร้างสรรค์ชืวิตและธรรมชาติ อีสาน
พิษณุ ไชยมงคล สำนักเรียนรู้เพื่อประชาธิปไตยท้องถิ่น (สปท.)
นายประสาท ศรีเกิด สถาบันเสื้อแดงเพื่อประชาธิปไตย
นายอาณัติ สุทธิเสมอ ชมรมส่งเสริมการเรียนรู้ ภาคเหนือตอนล่าง
นายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร์ YPD/ตัวแทนจากองค์กรนักศึกษา ม.รังสิต
ชาญณรงค์ วงค์วิชัย นักกิจกรรมรณรงค์ทางสังคมด้านเอชไอวี/เอดส์
ว่าที่ ร.อ.ภาดร ผลาพิบูลย์ สมาคมรัฐธรรมนูญเพื่อประชาธิปไตย
นางกสิณา สริจันทร์ สถาบันอิสานภิวัตน์
ขวัญรวี วังอุดม นักศึกษาปริญญาโท คณะสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา สถาบันสังคมศึกษา
ประเทศเนเธอร์แลนด์
ชล บุนนาค นักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยอีราสมุส รอตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
เทวฤทธิ์ มณีฉาย นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เอกรินทร์ ต่วนศิริ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อุบลพรรณ กระจ่างโพธิ์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อดิศร เกิดมงคล นักศึกษาปริญญาโท คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อุเชนทร์ เชียงเสน นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปฤณ เทพนรินทร์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อานนท์ อุณหะสูต นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อานนท์ ชวาลาวัณย์ นักศึกษาปริญญาโท Jawaharlal Nehru University New Delhi
Timo Ojanen นักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
กมลชนก สุขใส อดีตนักศึกษาปริญญาตรี คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ไชยรัตน์ ชินบุตร นักศึกษา คณะ รัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง
สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์ นักศึกษาโรงเรียนแม่น้ำโขง Mekong School-EarthRights International
เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ สำนักงานกฎหมายสิทธิชน
อนุชา มิตรสุวรรณ อิสรชนผู้รักความเป็นธรรม/เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
สุภาภรณ์ มาลัยลอย ประชาชนผู้รักความเป็นธรรมและสิ่งแวดล้อม/เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ภาวิณี ชุมศรี เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ปรีดา นาคผิว เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
ศิริภาส ยมจินดา ประชาชน
วิทยา อาภรณ์
น.ส.สุรีรัตน์ นนทโชติ โครงข่ายภาคประชาสังคมนนทบุรี
นางสายสม โกมลเสวิน โครงข่ายภาคประชาสังคมนนทบุรี
น.ส.ปาณิศา ขวัญเมือง โครงข่ายภาคประชาสังคมนนทบุรี
นางสมจิตร์ รามนันทน์ โครงข่ายภาคประชาสังคมนนทบุรี
นายสมศักดิ์ เจริญศรี โครงข่ายภาคประชาสังคมนนทบุรี
นายไพบูลย์ บุณรอด โครงข่ายภาคประชาสังคมนนทบุรี
นายสมศักดิ์ เกศชนา โครงข่ายภาคประชาสังคมนนทบุรี
ครรชิต พัฒนโภคะ องค์กรเลี้ยวซ้าย
พัชณีย์ คำหนัก องค์กรเลี้ยวซ้าย
ยุพิน อิ่มดำ องค์กรเลี้ยวซ้าย
สมาภรณ์ แก้วเกลี้ยง สมัชชาสังคมก้าวหน้า
คมลักษณ์ ไชยยะ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
ทัตธนนันต์ นวลมณี สมัชชาสังคมก้าวหน้า
รสา หิรัญฤทธิ์ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
กมล ศุภวงศ์ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
บุญธิดา อาจารยางกูร สมัชชาสังคมก้าวหน้า
ชัยนรินทร์ กุหลาบอ่ำ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
อุษากร เหมือนประยูร สมัชชาสังคมก้าวหน้า
สุจีรา เพ็งญา สมัชชาสังคมก้าวหน้า
ไชยวัฒน์ ตระการรัตน์สันติ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
สาธิต เลิศโชติรัตน์ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
กีรประวัติ คล่องวัชรชัย สมัชชาสังคมก้าวหน้า
ชวลีย์ รัตนววิไลสกุล สมัชชาสังคมก้าวหน้า
เขมนิจ เสนาจักร สมัชชาสังคมก้าวหน้า
นรสิงค์ ศรีวิโรจน์ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
กวิน ชุติมา นักกิจกรรม องค์กรพัฒนาเอกชน
เขมนิจ เสนาจักร ประชาชน
บุหงา เสนาจักร ประชาชน
ปรินดา วานิชสันต์ ประชาชน
ชวลีย์ รัตนวิไลสกุล ประชาชน
ณัฐรัช ฐาปโนสถ มูลนิธิกระจกเงา
เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข มูลนิธิกระจกเงา
อรรณพ นิพิทเมธาวี Webmaster ThaiNGO.org
ปฐมพร ศรีมันตะ ประชาชนและนักกิจกรรมธรรมดา
โชติศักดิ์ อ่อนสูง กลุ่มประกายไฟ
วิทยากร บุญเรือง ประชาชน
ใจ อึ๊งภากรณ์
ว่าที่ ร.อ.ภาดร ผลาพิบูลย์
นางกสิณา สริจันทร์
นายสุรพล ปัญญาวชิระ
ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล
จิรฐา ขอสูงเนิน
ประสงค์ สุวรรณโฉม
นิษฐกานต์ บุญศาสตร์
อรรคพล สาตุ้ม ศิลปินอิสระ
ประดิษฐ์ ดาวมณี ประชาชน
พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ ประชาชน
บัณฑิต เอื้อวัฒนานุกูล ประชาชน
อัฐธาดา ชมสุวรรณ แรงงานไทยในต่างแดน
น.ส. ชญานี ขุนกัน
วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา ร้านหนัง(สือ)๒๕๒๑
ภูมิวัฒน์ นุกิจ นักธุรกิจเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม
นครินทร์ วิศิษฎ์สิน
ธนกร มาณะวิท ประชาชน
พริสร์ สมุทรสาร
ฉันทนา วินิจจะกูล นักทำหนังสืออิสระ
ปรานม สมวงศ์ ประชาชน
ณภัทร สาเศียร ประชาชน
กานต์ ทัศนภักดิ์ ประชาชน
วุฒิไกร กลางทอง
ชาญณรงค์ วงค์วิชัย นักกิจกรรมรณรงค์ทางสังคมด้านเอชไอวี/เอดส์
Numnual Yapparat
นันทนีย์ เจษฎาชัยยุทธ์
ภัทชา ด้วงกลัด
ธนาวิ โชติประดิษฐ ประชาชน
ทิวสน สีอุ่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศุกาญจน์ตา สุขไผ่ตา คนงานในโรงงานทอผ้าย่านรังสิตปทุมธานี ประเทศสยาม
ทินกร ดาราสูรย์ ประชาชน
พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ Thai Netizen Network
ปารัชนันท์ ภาวัตโภควินท์ ประชาชน
ประกีรติ สัตสุต ประชาชน
สมิทธ์ ถนอมศาสนะ ประชาชน
มินตา ภณปฤณ ประชาชน
อาณัติ สุทธิเสมอ ประชาชน
ชาตรี สมนึก นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประกาศ เรืองดิษฐ์ ศูนย์เผยแพร่และส่งเสริมงานพัฒนา (ผสพ.)
สคฤทธิ์ จันทร์แก้ว นักกิจกรรมรณรงค์ทางสังคมด้านการเมืองสิทธิมนุษยชน และ ศิลปินอิสระ
วาสิฎฐี บุญรัศมี ประชาชน
ชัชชล อัจนากิตติ ประชาชน
ศิโรฒน์ รัตนาภรณ์ นักศึกษาและนักเขียนบทความพุทธศาสนามหายานแนวมนุษยนิยม
ศรวุฒิ ปิงคลาศัย นักศึกษาปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
โสฬสสา มีสมปลื้ม นศ.ปริญญาโท สตรีศึกษา มธ.
Pairat Pannara
จาพิกรณ์ เผือกโสภา นิสิตปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรัชญา สุรกำจรโรจน์ นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปาลิดา ประการะโพธิ์ นักเรียน
กัปตัน จึงธีรพานิช นิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มินตา ภณปฤณ ประชาชน