“กลุ่มประกายไฟ” (Iskra Group)

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ล่าชื่อร่อนแถลงการณ์ อย่าใช้ความรุนแรงกับม็อบเสื้อแดง สะกิดเอ็นจีโอ นักวิชาการ อย่า 2 มาตรฐาน

Sat, 2009-10-17 00:26

องค์กรนักศึกษานำโดย สนนท. นักวิชาการ นักกิจกรรมสังคม นักสหภาพแรงงาน องค์กรภาคประชาชน ร่วมกันออกแถลงการณ์เรียกร้องให้ทุกฝ่ายไม่ใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม นปช.เสื้อแดง ในการจัดชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาลวันที่ 17ตุลาคมนี้ จี้รัฐบาล สื่อ เอ็นจีโอ-องค์กรสิทธิ-นักวิชาการ อย่า 2 มาตรฐานกับม็อบ

ทั้งนี้กลุ่มประชาชนที่ร่วมกันออกแถลงการณ์ ยังได้เผยว่า ได้ทำสำเนาเชิญชวนการลงนามไปยังบุคคล กลุ่ม และองค์กรที่เคยสนับสนุนการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนด้วยแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างการติดตามว่าจะมีการร่วมลงนามในครั้งนี้ด้วยหรือไม่

สำหรับรายละเอียดของแถลงการณ์มีดังต่อไปนี้





แถลงการณ์
ขอเรียกร้องไม่ให้ใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม


ตามที่แนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดงจะจัดการชุมนุมขึ้นในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ ซึ่งรัฐบาลได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ เพื่อควบคุมการชุมนุม และมีแนวโน้มที่อาจเกิดความรุนแรงได้นั้น พวกเรา ซึ่งมีรายนามดังแนบท้ายแถลงการณ์นี้ ขอเรียกร้องมายังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้

1.รัฐบาล กองทัพ ตำรวจ และชนชั้นนำ ไม่ควรเลือกปฏิบัติเป็น 2 มาตรฐาน โดยสมควรต้องยกเลิกการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ และให้ประชาชนทุกฝ่ายสามารถจัดการการชุมนุมได้โดยสงบ ปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญ เว้นแต่จะเกิดเหตุความไม่สงบขึ้น จึงสมควรจะประกาศบังคับใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ทั้งนี้ต้องไม่ให้กองกำลังทหาร ซึ่งไม่ได้ฝึกฝนมาควบคุมฝูงชนเข้าทำหน้าที่ควบคุมฝูงชน และสมควรต้องเร่งผลักดันกฎหมายการชุมนุมสาธารณะออกมาบังคับใช้เพื่อควบคุมการชุมนุมเป็นไปตามมาตรฐานสากลโดยเร็ว

2.ผู้รับผิดชอบการจัดการชุมนุม โดยเฉพาะแกนนำ นปช. ต้องควบคุมจัดการการชุมนุมให้เป็นไปโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญ ไม่ยั่วยุให้ก่อความรุนแรง หรือยึดสถานที่ราชการแบบที่กลุ่มพันธมิตรเคยปฏิบัติ แม้การกระทำเช่นนั้น จะยังไม่ถูกดำเนินคดีถึงขั้นจำคุกตามกฎหมายก็ตาม หากเกิดความรุนแรงใดๆ จากการที่ไม่สามารถควบคุมการชุมนุมได้ หรือนำไปสู่ความรุนแรง ย่อมเป็นความรับผิดชอบของแกนนำ หรือผู้จัดการชุมนุมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่วนผู้ชุมนุมพึงใช้สิทธิตามกฎหมาย หลีกเลี่ยงการยั่วยุให้เกิดความรุนแรงใดๆ

3.สื่อมวลชน ต้องนำเสนอข่าวการชุมนุมด้วยความเป็นกลาง ปราศจากอคติใดๆ หรือชี้นำให้เกิดความรุนแรง หลีกเลี่ยงการยั่วยุใดๆ เหมือนที่เคยปฏิบัติมาในช่วงเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อตอนสงกรานต์ที่ผ่านมา

4.นักสิทธิมนุษยชน นักวิชาการ และองค์การพัฒนาภาคเอกชน ทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และองค์กรสิทธิมนุษยชน ภาคเอกชน และนักวิชาการ สมควรต้องออกมาแสดงบทบาทเหมือนกับที่เคยออกมาสนับสนุนให้พันธมิตรจัดการชุมนุม ‘โดยสันติวิธี’ ทุกครั้ง ทุกโอกาส และสมควรต้องออกมาเรียกร้องไม่ให้รัฐใช้ความรุนแรงแบบเดียวกับที่เคยปฏิบัติมา หากเพิกเฉยย่อมแปลความเป็นอย่างอื่นมิได้ นอกจากเป็นการยอมรับว่า ปฏิบัติเป็น 2 มาตรฐาน ให้ท้ายพันมิตร แต่เพิกเฉยหรือซ้ำเติมต่อ นปช. เหมือนครั้งเหตุการณ์เมื่อวันสงกรานต์ ที่เคยออกแถลงการณ์สนับสนุนให้รัฐบาลปราบปราม นปช.มาแล้ว ซึ่งเป็นพฤติการณ์ที่น่าอับอาย

5.นักกิจกรรมสังคมที่ต้องการสันติ เช่น กลุ่มริบบิ้นขาว สถาบันพระปกเกล้าฯ กลุ่มรณรงค์หยุดทำร้ายประเทศไทย ที่เคยออกมารณรงค์ให้ "ทุกฝ่าย" ไม่ใช้ความรุนแรงต่อกัน ขณะนี้ได้เวลาที่ต้องออกมาแสดงบทบาทแล้ว หากเพิกเฉยก็อาจเข้าข่ายเลือกปฏิบัติ 2 มาตรฐาน

6.ประชาชน พึงทราบและตระหนักว่า การจัดการชุมนุมทางการเมืองโดยสงบ ปราศจากอาวุธ เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และความขัดแย้งทางการเมือง ถือเป็นเรื่องปกติในระบอบประชาธิปไตย และจะทำให้ประชาธิปไตยพัฒนาก้าวหน้า พึงเข้าใจว่า คนที่มาร่วมการชุมนุมทางการเมืองนั้น ส่วนมากเป็นคนที่กระตือรือร้นต่อการพัฒนาชาติบ้านเมือง เป็นคนที่มีครอบครัว มีเลือดเนื้อ มีจิตใจเช่นเดียวกับคนไทยทั่วไป ไม่ได้เป็น ‘อื่น’ ประชาชนจึงสมควรจะสนับสนุนกิจกรรมการชุมนุมตามระบอบประชาธิปไตย ตราบเท่าที่ไม่ละเมิดกฎหมาย และละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น

ด้วยความเชื่อมั่น
17 ตุลาคม 2552



องค์กรและบุคคลที่ร่วมลงนาม

อนุธีร์ เดชเทวพร เลขาธิการ สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.)
พงษ์สุวรรณ สิทธิเสนา สถาบันเพื่อการพัฒนาเยาวชนประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ยุทธนา ดาศรี เลขาธิการนิสิตนักศึกษาภาคอีสาน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
นฤมล มีสมบัติ กรรมการบริหาร สนนท. ( ม.รามคำแหง )
อัมรีย์ เด กรรมการบริหาร สนนท. (ม.กรุงเทพธนบุรี)
ฉัตรสุดา หาญบาง กรรมการบริหาร สนนท.( มรฏ.สวนดุสิต)
ยุทธนา ภักดีหาญ กลุ่มยอป่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วิศรุต บุญยา เครือข่ายนักศีกษาพิทักษ์ประชาชน รามคำแหง
วิภา ดาวมณี กรรมการเครือข่ายเดือนตุลา
ไพโรจน์ จันทรนิมิ ประธานชมรมนักข่าวเพื่อเสรีภาพไทย
พิษณุ ไชยมงคล ผู้อำนวยการ สำนักเรียนรู้การกระจายอำนาจและปกครองตนเอง
วัฒนะ วรรณ องค์กรเลี้ยวซ้าย
เทวฤทธิ์ มณีฉาย สมาชิกกลุ่มประกายไฟ
สุชาติ เศรษฐมาลินี สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ
สมศักดิ์ ภักดิเดช กรรมการชมรมนักข่าวเพื่อเสรีภาพไทย
สิทธิ์ จันทาเทศ สหภาพแรงงานกรุงเทพผลิตเหล็ก
บุญผิน สุนทราลักษ์ สหภาพแรงงานกรุงเทพผลิตเหล็ก
นายสัณหณัฐ นกเล็ก องค์กรเสรีปัญญาชน
พรมมา ภูมิพันธ์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์
หนังแห่งประเทศไทย (ส.พ.ท.)
สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ การตัดเย็บเสื้อผ้า และผลิตภัณฑ์ หนังแห่งประเทศไทย (ส.พ.ท.)
สหภาพแรงงานไทยอคริลิคไฟเบอร์
สหภาพแรงานสหกิจวิศาล
พฤกษ์ เถาถวิล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สลิสา ยุกตะนันทน์ นักศึกษาปริญญาโท University of Warwick
ภัควดี วีระภาสพงษ์
ชำนาญ จันทร์เรือง
ใจ อึ๊งภากรณ์
จิรวัฒน์ เทียนเงิน
เขมนิจ เสนาจักร
ครรชิต พัฒนโภคะ องค์กรเลี้ยวซ้าย
ภัทรพล เสนาจักร
บุหงา เสนาจักร
ปรินดา วานิชสันต์
จักรภพ เพ็ญแข
นุชรินทร์ ต่วนเวช
สุณี ครองพิพัฒน์สุข
อาทร ทศพหล
น.ส.วัลภา ทันตานนท์
สุรีย์ มิ่งวรรณลักษณ์
วิทยา อาภรณ์
ประสาท ศรีเกิด
พิชิต พิทักษ์
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ
วิโรจน์ ดุลยโสภณ
เจษฎา โชติกิจภิวาทย์
อาณัติ สุทธิเสมอ
ศรายุทธ ตั้งประเสริฐ
Tanaporn Tornros
รุ่งโรจน์ วรรณศูทร
ยรรยง ลูกชาวดิน กลุ่มชาวดิน ออนเน็ต
คณิตศาสตร์ สารบุญมา
อรรคพล สาตุ้ม
วิทยา เล้าประเสริฐ
ทิพย์สุดา เณรทอง
ชัยอนันต์ ทินกูล
นางสาวจินตภัทร์ แถมพูลสวัสดิ์
นางสาวทารินี ทรงเกียรติธนา
เดโช กำลังเกื้อ
นพดล ทิพยชล
พศิน สุนทราธนกุล
กานต์ ทัศนภักดิ์
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
ธีระพล อันมัย อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ผศดร.ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
เอกรินทร์ ต่วนศิริ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นาง ธนพร ทรอนโรส
อรรถชัย อนันตเมฆ


ในตอนท้ายแถลงการณ์ ยังได้เชิญชวนร่วมกันเผยแพร่แถลงการณ์ไปยังมิตรสหาย และร่วมกันลงนาม โดยระบุที่อยู่ส่งกลับที่ อีเมล์ redseed1@gmail.com ภายในเวลา 08.00 น.วันเสาร์ที่ 17 ต.ค.นี้