“กลุ่มประกายไฟ” (Iskra Group)

วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประกายไฟเสวนา : ประเด็นว่าด้วย The Brief History of Neoliberalism ของ David Harvey และปรากฏการณ์ Occupy Wall Street


เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 ธ.ค. 54 ที่ผ่านมา เวลา 13.00-16.00 น  ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา (ตึกหน้าชั้นใต้ดิน) สี่แยกคอกวัว ราชดำเนิน กรุงเทพฯ กลุ่มประกายไฟ (Iskra Group) ได้จัดกิจกรรม ประกายไฟเสวนา : ประเด็นว่าด้วย The Brief History of Neoliberalism ของ David Harvey และปรากฏการณ์ Occupy Wall Street กับ ภัควดี ไม่มีนามสกุล โดยมีวิทยากรภัควดี ไม่มีนามสกุล  นักวิชาการอิสระผู้แปลหนังสือ The Brief History of Neoliberalism ของ David Harvey และ ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี กลุ่มประกายไฟ ดำเนินรายการโดย เก่งกิจ กิติเรียงลาภ กลุ่มประกายไฟ

รับชม VDO Clip งานเสวนาและภาพได้ด้านล่างนี้

วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เมื่อสัญญาณแดงที่สมุทรปราการยังจูนไม่เจอ : ภาพสะท้อนจากการเลือกตั้งนายก อบจ.สมุทรปราการ


สมุทรปราการนับเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลที่มีความใกล้ชิดกับกรุงเทพมหานครที่สุดทั้งในแง่ภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ และสภาพสังคม พร้อมทั้งขึ้นชื่อในฐานะเมืองแห่งผลประโยชน์ และเขตอิทธิพลของกลุ่มก๊วนต่างๆ แต่ข้อเท็จจริงสำคัญมากกว่าเมืองแห่งเจ้าพ่อ นับจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ห้าส่งผลให้สมุทรปราการได้พัฒนาสู่การเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ต่อเนื่องสู่พื้นที่เขตอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก นิคมอุตสาหกรรมเกิดใหม่มาพร้อมกับผู้อพยพรุ่นใหม่

วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

อีกด้านหนึ่งของคานธีที่คุณควรรู้จัก


เบนจามิน แฟรงคลิน(แว่น ประกายไฟ)

หากเอ่ยชื่อของคานธีหลายคนคงนึกถึงภาพชายแก่ผมบางนั่งปั่นผ้าและความสำคัญของเขาในฐานะผู้รวบรวมชาวอินเดียให้ทำการต่อสู้เพื่อปลกแอกจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าวาทกรรม”อหิงสา”และ”อารยะขัดขืน”ของคานธียังคงมีบทบาทในขบวนการเคลื่อนไหวภาคสังคมทั้งในไทยและระดับสากลมาจนถึงทุกวันนี้ ช่วงทศวรรษที่1960 คนผิวดำในอเมริกาใช้การประท้วงแบบสันติตามรอยคานธีในการสู้กับคนขาวในหลายวิธีการเช่น นั่งในร้านอาหารที่ขายเฉพาะคนขาวจนกว่าเจ้าของร้านจะยอมขาย หรือประท้วงรถเมลล์ที่แบ่งที่นั่งคนดำและคนขาวโดยการเลิกขึ้นรถเมลล์แล้วเดินหรืออาศัยรถเพื่อนแทนเป็นต้น และเหนือไปกว่านั้นวีรบุรุษในดวงใจของ มาร์ติน ลูเธอร์ คิงหนึ่งในผู้นำการต่อสู้เพิ่อสิทธิคนผิวดำก็คือ มหาตมะ คานธีดังนั้นคงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในการเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิพลเมืองของคนผิวดำนั้นอิทธิพลของวาทกรรมและแนวคิดของคานธีมีบทบาทอยู่ไม่น้อย ในไทยเองวาทกรรมของคานธีก้อเข้ามามีบทบาทต่อการเคลื่อนไหวอยู่ไม่น้อยเช่น เมื่อครั้งที่มีการประท้วงปิดสภาไม่ให้สนชเข้าไปพิจารณากฎหมายเมื่อช่วงเดือนธันวาปี50ก็มีการทำสัญลักษณ์ อหิงสา No Entry มาชูเพื่อให้สอดรับกับกิจกรรมการปิดล้อมสภาโดยสงบปราศจากอาวุธไม่ให้สนชเข้าไปประชุมพิจารณากฎหมายได้ การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเองก็ชูสโลแกนอหิงสาในการต่อต้านรัฐบาลตลอดช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา (ผมไม่แน่ใจว่าการยึดสนามบิน ยึดรถโดยสารประจำทางจะเข้านิยามอหิงสาหรือเปล่า)

VDO Clip และภาพบางส่วนของการเสวนาาแรงงานสากล : "ความสำคัญของแรงงานกับขบวนการประชาธิปไตย" เนื่องในวันแรงงานสากล



ภาพบางส่วนของการเสวนาาแรงงานสากล : "ความสำคัญของแรงงานกับขบวนการประชาธิปไตย" เนื่องในวันแรงงานสากล
ที่จัด ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา บ่ายวันที่ 1 พค 54 ซึ่งจัดโดยกลุ่มประกายไฟและองค์กรเลี้ยวซ้าย

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

เชิญร่วมเสวนาแรงงานสากล : "ความสำคัญของแรงงานกับขบวนการประชาธิปไตย"


May Day 2011 : กิจกรรมวันแรงงานสากล 2011 แรงงานกับประชาธิปไตย 

เช้า เดินรณรงค์ 

เวลา 9.00 น เริ่มเดินรณรงค์ สิทธิแรงงานและประชาธิปไตย จากลานพระบรมรูปทรงม้าเดินไปอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย

บ่าย เสวนา

กำหนดการ เสวนาเนื่องในวันแรงงานสากล
หัวข้อ "ความสำคัญของแรงงานกับขบวนการประชาธิปไตย"
วันอาทิตย์ ที่ 1 พฤษภาคม 2554 เวลา 13.00-16.00 น. ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา(ตึกหน้าชั้นใต้ดิน) ถ.ราชดำเนิน กรุงเทพฯ
จัดโดยกลุ่มประกายไฟและองค์กรเลี้ยวซ้าย

วันจันทร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2554

รายงานประกายไฟเสวนา “พระราชบัญญัติการชุมนุมเกี่ยวอะไรกับเรา”


เสวนา พ.ร.บ.ชุมนุมฯ “จิตรา” ชี้แจ้งล่วงหน้าในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยาก


กลุ่มประกายไฟจัดเสวนา “พระราชบัญญัติการชุมนุมเกี่ยวอะไรกับเรา”  จิตรา คชเดช อดีตที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ชี้การที่จะต้องแจ้งล่วงหน้านี้เป็นปัญหาแน่ ในทางปฏิบัติเป็นไปไม่ได้เลย 
วันนี้ (9 เม.ย. 54) เวลา 13.00 น. กลุ่มประกายไฟจัดเสวนา “พระราชบัญญัติการชุมนุมเกี่ยวอะไรกับเรา” โดยมี จิตรา คชเดช อดีตที่ปรึกษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ อานนท์ นำภา ทนายความสำนักราษฎรประสงค์ อนุสรณ์ อุณโณ สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ณ สำนักงานวันอาทิตย์สีแดง อิมพีเรียลลาดพร้าว

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

ประกายไฟเสวนา : พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ เกี่ยวอะไรกับเรา?


เชิญร่วม ประกายไฟเสวนา ในหัวข้อ "พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ เกี่ยวอะไรกับเรา?"

ในวันเสาร์ที่ 9 เมษายน 2554 ณ ส านักงานกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง
ชั้น 5 อิมพีเรียล ลาดพร้าว เวลา 13.00 น. - 16.00 น.

การชุมนุมคือเครื่องมือเดียวที่ชนชั้นล่างใช้ต่อสู้กับความไม่เป็นธรรม
การชุมนุมทางการเมืองจะมีประโยชน์อะไรหากเราจะต้องขออนุญาตทุกครั้งที่ชุมนุม?
กฏหมายเผด็จการก าลังจะคุกคามเสรีภาพของเราโดยที่เราไม่รู้ตัว
แล้วคุณล่ะคิดยังไงกับเรื่องนี้.....
เชิญร่วมพูดคุยถกเถียงในสิ่งที่"นักสู้เพื่อประชาธิปไตย"ทุกคนต้องรู้ไปกับ

- จิตรา คชเดช ที่ปรึษาสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ คนชูป้าย “ดีแต่พูด” ให้นายกอภิสิทธิ์
- อานนท์ นำภา ทนายความ “สำนักราษฎรประสงค์”
- ปกรณ์ อารีกุล นักศึกษา สมาชิกกลุ่มลูกชาวบ้าน



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 084-660-1664
หรือที่ Facebook : เพื่อนกลุ่มประกายไฟ (Iskra Group & Friends)

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

ดิ ไอริช ไทมส์ สัมภาษณ์ นอม ชอมสกี้: การโจมตีจะเป็นปรปักษ์กับหลายชาติในโลกอาหรับ


"การแทรกแซงทางทหารในลิเบียนั้นถือเป็นข้อผิดพลาดอย่างรุนแรง" นอม ชอมสกี้ นักเคลื่อนไหว กล่าวต่อ ซานดร้า แซทเทอลี
นอม ชอมสกี้ เขียนถึงสงครามกลางเมืองสเปนในหนังสือพิมพ์ของโรงเรียนซึ่งตอนนั้นเขามีอายุเพียงแค่ 10 ขวบ เขาเคยถูกจองจำด้วยกันกับ นอร์แมน เมลเลอร์ในปี 1967 จากการประท้วงต่อต้านสงครามในเวียตนามที่เพนตาก้อน และเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมาเขาถูกกักตัวโดยชาวอิสราเอลในขณะที่เขาพยายามจะเข้าไปในเวสต์แบงค์โดยใช้เส้นทางผ่านประเทศจอร์แดน
นักวิชาการชื่อก้องโลก และศาสตราจารย์ปลดเกษียนด้านภาษาศาสตร์แห่ง Massachusetts Institute of Technology (MIT) เขายังคงเป็นนักเคลื่อนไหวที่ยังมีความกระตือรือร้นอยู่ในวัย 82 ปี และเป็นนักวิจารณ์นโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯด้วย
ชอมสกี้เตือนว่าการแทรกแซงทางทหารในลิเบียนั้นจะกลายเป็นปัญหาใหญ่