“กลุ่มประกายไฟ” (Iskra Group)

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Manufacturing Consent การสร้างความสมัครใจในการผลิต

Manufacturing consent Download Clip Free ได้ตาม link นี้เลยครับ
ตอนที่ 1 http://www.upload-thai.com/download.php?id=29e152be75b44551a43667e91a637392
ตอนที่ 2 http://www.upload-thai.com/download.php?id=3e30ba079c4b77566d6af2eda02df583

ซึ่งคุณ ประชา อภิวัฒน์ ได้เขียนบรรยายประกอบ clip ไว้น่าสนใจดังนี้



สารคดีที่ดีมากๆ พูดถึงการสร้างอุดมการณ์ของระบบทุนนิยม ที่ทำให้แรงงานไม่ลุกขึ้นสู้ แต่กลับสยบยอมต่อระบบการผลิตที่กดขี่และเอาเปรียบแรงงาน

คำถามว่า ทำไมแรงงานจึงยอมรับการกดขี่และไม่ยอมลุกขึ้นสู้? เป็นคำถามคลาสสิคที่มีมาช้านาน สารคดีเรื่องนี้สร้างขึ้นจากหนังสือเรื่อง "Manufacturing Consent" โดยนักวิชาการสำนักมาร์กซิส Micheal Burawoy ในปี 1979 บูราวอย พูดถึงประเด็นสำคัญคือ โครงสร้างของระบบทุนนิยมที่สร้างอุดมการณ์ครอบงำขึ้นมา ทำให้ผู้ที่ถูกเอาเปรียบสยบยอม และยอมรับกับความสัมพันธ์ในระบบทุนนิยม

ระบบทุนนิยมทำให้ความสัมพันธ์ทางสังคม ระหว่างผู้ผลิต-ผู้บริโภคกลายเป็นความสัมพันธ์ระหว่าง คน-สินค้า ในระบบตลาด ทั้งที่จริงๆ แล้วตลาดเป็นแค่ที่ๆ คนเอาสิ่งของที่จำเป็นมาแลกเปลี่ยนกัน แต่เงินตรากลายเป็นตัวกำหนดคุณค่าของแรงงา

ในระบบทุน เสรีภาพของคน ถูกแทนที่ด้วยเสรีภาพของตลาด และคนไม่มีสิทธิที่จะเลือกหรือไม่เลือกทำอะไร ภายใต้การบงการของแรงกดดันระบบตลาดที่เป็นผู้กำหนดคุณค่าว่าอะไรมีค่าพอที่จะอยู่หรือไป ตลาดเป็นผู้กำหนดสิ่งที่จะถูกผลิตออกมาสู่ระบบตลาด 

การรวมตัวของคนเพื่อเสรีภาพในด้านแรงงาน กลับถูกบอกว่าขัดต่อเสรีภาพของตลาด รัฐและกองทัพถูกนำมาใช้เพื่อปกป้องระบบตลาดและทุน

ยิ่งเราทำงาน เรายิ่งกลายเป็นพลังแรงงานในระบบตลาด คำถามที่ถูกถามกันมากขึ้น คือมีการสร้างอุดมการณ์อะไรในระบบตลาดที่ทำให้คนพึงพอใจที่จะอยู่ในระบบทุนที่มองไม่เห็นคุณค่าของคน

สื่อเป็นตัวกลางสำคัญที่อุดมการณ์ถูกผลิต/ผลิตซ้ำ และเผยแพร่ออกไป ทำให้แรงงานที่ขายแรงงานในระบบตลาด มองไม่เห็นว่าตัวเองเป็นแรงงานที่ถูกใช้ให้ผลิตสินค้า แต่กลับมองว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของระบบทุน เสมือนหนึ่งว่าตลาดเป็นผู้สร้างมูลค่าของสินค้า หาใช่แรงงานที่สร้างมันขึ้นมาไม่

ตลาดทำให้รู้สึกเหมือนกันว่า ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างมีเสรีภาพที่จะขายและบริโภคสินค้า ไม่มีใครมาบังคับ แต่จริงๆ แล้วตลาดคือผู้กำหนดมูลค่า ว่าจะให้อะไรสูงหรือมีมูลค่าต่ำ ในแง่นี้ อุดมการณ์ของชนชั้นกระำำฎุมพีเกี่ยวกับเรื่องเสรีภาพในการบริโภค จึงเป็นแค่มายาคติ แต่อุดมการณ์เสรีภาพในระบบตลาดนี้ กลับได้รับการผลิตและเผยแพร่ไปในระบบตลาด โดยมีตลาดเป็นผู้กำหนดคุณค่าโดยตัวของมันเอง ไม่ต้องอาศัยสื่อใดๆ มาส่งเสริม

แรงงานได้ค่าแรง เพื่อผลิตซ้ำแรงงานของตัวเอง พวกเขาจับจ่ายใช้สอย ซึ่งยิ่งทำให้ทุนได้รับกำไรมากขึ้น พวกเขาไม่ตระหนักว่าพวกเขาคือชนชั้นแรงงานที่ทำกำไรให้ระบบทุน การค้าขายระบบทุนทำให้ดูเหมือนว่าเป็นการค้าขายที่เสรี ที่ปัจเจกบุคคลมีเสรีภาพที่จะขายแรงงาน และบริโภคสินค้า แต่แท้จริงแล้ว ตลาดต่างหากคือผู้กำหนดมูลค่าของสินค้า และแรงงาน

ประวัติศาสตร์ของระบบทุน ได้ชี้ให้เห็นพัฒนาการของการสร้าง "การสมยอม" ของแรงงาน ด้วยการสร้างอุดมการณ์เสรีนิยมในการบริโภคของชนชั้นกระฎุมพี

การพูดถึงเสรีภาพในระบบตลาด ทำให้ละเลยการมองความจริงในที่ทำงาน ใน workplace เราจะเห็นชนชั้นที่ถือครองทรัพย์สินและปัจจัยการผลิต กับชนชั้นที่ไม่ืถือครองทรัพย์สินและปัจจัยการผลิต มองด้วยตาเปล่า ราวกับว่าการแลกเปลี่ยนแรงงานกับค่าตอบแทนเป็นไปอย่างเสรี ชนชั้นกระำฏุมพีขายแรงงานโดยปราศจากการบังคับ แต่ถ้ามองให้ลึกลงไป เราจะเห็นว่าทุนต่างหากคือผู้ควบคุมปัจจัยการผลิต ทุนควบคุมวิธีการผลิตสินค้า และทุนควบคุมแรงงาน

เราต้องถามว่า การสร้างความสมัครใจ (Manufacturing consent) ของแรงงานในระบบทุนเกิดขึ้นได้ยังไง ถ้าเรามองดู การสร้างความสมัครใจในสถานที่ทำงาน เราจะเข้าใจการสร้างความสมัครใจในระบบตลาด

ในระบบตลาด เราจะเห็นภาพเหมือนกับว่า ทุนมีเสรีภาพที่จะผลิตสินค้าแต่ละอย่างออกมาขายในระบบตลาด และผู้บริโภคมีเสรีภาพที่จะบริโภคสินค้าแต่ละชนิด เรามีเสรีภาพที่จะเลือกบริโภครูปแบบและเนื้อหาสินค้าแต่ละอย่าง แต่เราไม่มีสิทธิที่จะเลือก สภาวะที่รูปแบบการผลิตสินค้าเข้ามากำหนดการจ้างแรงงาน

เรามีเสรีภาพในการเลือกบริโภคตัวสินค้า แต่ไม่ใช่เสรีภาพในการกำหนดรูปแบบการผลิตสินค้า 

รูปแบบของการควบคุมแรงงานที่เหลือเชื่อ คือการผลิตที่อิงกับการจัดการอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ของระบบ Fordism (ชื่อเรียกที่เอามาจากระบบการผลิตรถยนต์ฟอร์ด ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมการผลิตแบบสายพาน) ซึ่งทุนสามารถชี้นำกำหนดการผลิตได้อย่างเบ็ดเสร็จ ภายใต้ระบบฟอร์ดิส เรามีแรงงานที่เป็น working class มากขึ้น ซึ่งแรงงานกลายเป็นเพียงฟันเฟืองในสายพานการผลิตของทุน เป็นผู้ประกอบสินค้าที่ตัวเองไม่มีทางรู้และเข้าใจระบบการผลิตทั้งหมด

นักสังคมวิทยามาร์กซิส ไมเคิล บูราวอย ได้เขียนหนังสือเรื่อง Manufacturing consent หรือการสร้างความสมัครใจ ไว้ราวปลายทศวรรษ 1970 เขากล่าวว่า ความรู้ในการผลิตในที่ทำงาน คือกลไกการครอบงำทางอุดมการณ์ที่สำคัญ ระบบทุนได้เปลี่ยนการทำงานให้เหมือนกับการเล่นเกมส์ เป็นเกมส์ที่แรงงานต้องเล่นตลอดทั้งวัน แรงงานต้องสร้างผลประโยชน์สูงสุดในเกมส์ที่พวกเขาเล่น และทำให้ระบบเดินหน้าไปอย่างดี 

เกมส์ที่กำหนดให้การจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายชิ้น (piece-rate job) และการจ่ายค่าจ้างแพงขึ้น ถ้าหากแรงงานทำงานได้มากกว่าโควต้า แต่ถ้าเมื่อไรแรงงานผลิตได้มากกว่าโควต้า โควต้าก็จะเพิ่มขึ้น เกมส์จึงมีกติกาว่าต้องผลิตให้ได้มากที่สุด จึงจะได้ค่าตอบแทนสูงสุด เกมส์ได้ถูกทำให้กลายเป็นเรื่องน่าสนใจ

ที่น่าสนใจก็คือว่า เกมส์นี้ได้ทำให้แรงงานกลายเป็นผู้ที่สู้กับความรู้ เทคนิคการผลิตและการทำงานของเครื่องจักร เบี่ยงเบนการสู้กับทุนที่เอาเปรียบตัวเอง 
ที่น่าสนใจมากก็คือ สหภาพแรงงานก็เล่นเกมส์แบบเดียวกัน

ขอบคุณคำบรรยายประกอบโดย @ประชา อภิวัฒน์ http://www.facebook.com/nopolitics 7.11.2010